สาระพลังงาน

ความชื้นในกะลาปาล์ม กับความคุ้มด้านราคา


ความชื้นในกะลาปาล์ม กับความคุ้มด้านราคา

ยังคงเป็นเรื่องที่ผู้เขียนพยายามนำเสนอหลายครั้ง เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จัดซื้อจัดหาเปลือกปาล์มมาเป็นเชื้อเพลิงได้มีความเข้าใจและตระหนักอย่างลึกซึ้งถึงเศรษฐศาสตร์ความคุ้มทุนและคุ้มค่า ซึ่งมักจะถูกทำให้สับสนด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดแบบฉาบฉวย จนทำให้ลืมตัวเลขทางบัญชีที่จะต้องนำจ่ายและสูญเสียให้กับการตลาดแบบนี้

 

การทดสอบนี้พยายามทำอย่างถูกต้องและเรียบง่ายที่สุดในห้องปฎิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ เป็นชุดเดียวกันในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน

 

วัสดุที่ใช้ทดสอบ กะลาปาล์มจากแหล่งภาคใต้ ด้วยการสุ่มคัดมาจากตัวอย่างแบบคละ จำนวน 2 กิโลกรัม และทำการคัดแยกเพื่อทำการทดสอบไว้ที่ปริมาตร 1 ลิตร

 

1. ทำการชั่งน้ำหนักกะลาปาล์มปริมาตร 1 ลิตร เพื่อวัดค่าน้ำหนัก (ทำ 3 ซ้ำ) และตรวจวัดความชื้นด้วยเครื่องทดสอบ

 

2. นำตัวอย่างที่ได้ทดสอบแลัวัดค่าความชื้นไปทำการฉีดน้ำเพื่อเพิ่มน้ำหนักและความชื้นโดยใช้กระบอกฉีดน้ำแล้วคลุกให้ทั่ว โดยทำทั้ง 3 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ

 

ผลการทดสอบ

 

การตรวจวัดตอนแห้ง ได้น้ำหนักโดยเฉลี่ย 525.8 กรัม/ลิตร วัดชื้นเฉลี่ยได้ 15.2 %

การตรวจวัดตอนเปียก ได้น้ำหนักโดยเฉลี่ย 587.6 กรัม/ลิตร วัดชื้นเฉลี่ยได้ 25.8 %

 

สรุปผล

 

กะลาปาล์มเปียกมีน้ำหนักมากกว่ากะลาปาล์มแห้งที่ 587.6-525.8 = เพิ่มขึ้น 61.8 กรัม คิดเป็น 11.8%

กะลาปาล์มเปียกมีค่าความชื้นมากกว่ากะลาปาล์มแห้งที่ 25.8-15.2 = เพิ่มขึ้น 10.6%

 

จากผลทดสอบค่อนข้างชี้ชัดว่า ผลของการเพิ่มความชื้นในกะลาปาล์มมีผลทำให้น้ำหนักของกะลาปาล์มเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ความชื้น

 

หากนำมาเปรียบเทียบกับราคากะลาปาล์มที่จำหน่ายในท้องตลาด ผู้จัดซื้อหรือจัดหาควรคำนึงถึงสัดส่วนความชื้นเทียบกับราคากะลาปาล์มเป็นหลัก เพราะจะเป็นตัวชี้วัดมวลทางกายภาพของสินค้าและค่าพลังงานที่จะสามารถนำมาใช้งานได้จริง

 

1 > กะลาปาล์มราคา 3,100 บาท/ตัน ความชื้น 35%

2 > กะลาปาล์มราคา 3,200 บาท/ตัน ความชื้น 20%

( 3,100 / (1,000 x (-35%))) / (3,200 / (1,000 x (-20%))) = 16%

 

จากข้อมูลที่ได้ทำการทดสอบ พอจะสรุปได้ว่า กะลาปาล์มในตัวเลือกที่ 2 มีความคุ้มค่ามากกว่า ที่ประมาณ 16%