เปลือกปาล์ม หรือตามที่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า "กะลาปาล์ม" นั้น เป็นเศษวัสดุที่เหลือจากการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีมากในทางตอนใต้ของประเทศไทย โดยมีสัดส่วนมากในเขตจังหวัด ชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่
ส่วนกะลาปาล์มที่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งคุณภาพและคุณสมบัติทางความร้อนของกะลาปาล์มในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน
กะลาปาล์มไทย จะมีคุณสมบัติทางความร้อนที่ดี เพราะมีน้ำมันเคลือบผิวหลงเหลือค่อนข้างเยอะ ค่อนข้างเป็นเม็ดสวย มีความมันวาว เปลือกค่อนข้างสมบูรณ์หนา ดูเหมือนเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อจำกัดคือมีปริมาณค่อนข้างน้อย มักขาดความต่อเนื่องในการใช้งาน ไม่พอรองรับตลาด
กะลาปาล์มมาเลเซีย มีความชื้นต่ำกว่ากะลาปล์มไทย มีความเป็นเม็ดน้อย เปลือกบาง แต่ได้เปรียบในเรื่องการลุกไหม้ที่ดี มีปริมาณมากตามฤดูกาลผลิต การข่นส่งเข้ามาในประเทศไทยทำได้ง่ายและหลากหลาย อีกทั้งยังใช้การขนส่วทางบกได้
กะลาปาล์มอินโดนีเซีย มีปริมาณรองรับการใช้งานสูง มีเปลือกหนา เม็ดขนาดใหญ่ ค่าความร้อนค่อนข้างดี หากมีการจัดเก็บรักษาที่ดีมักมีความชื้นต่ำ แต่มักไม่มีน้ำมันเคลือบผิวเหลืออยู่ และพบเศษวัสดุปลอมป่นบ่อยคครั้ง ทำให้ผู้จำหน่ายกะลาปาล์มอินโดนีเซียจึงต้องคัดร่อนก่อนนำส่งไปยังลูกค้าเสมอ ตัวแปรที่เป็นปัญหาคือการขนส่ง และราคาอัตราแรกเปลี่ยนสกุลเงิน ทำให้ราคาสูง
คุณสมบัติทางความร้อน
Heating Value : 3800-4200 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม
Moisture Content : 25-35%