กะลาปาล์ม หรือเปลือกเม็ดในของผลปาล์มสุก (seed shell) เมื่อผลปาล์มสุกสีเหลืองทองปนสีแดง นำมานึ่งด้วยความร้อนจนสุกได้ที่ จะถูกบีบอัดด้วยเครื่อง จนน้ำปาล์มแยกตัวออกจากผลปาล์มและได้น้ำมันปาล์มสีแดงหม่น คงเหลือแต่เม็ดในที่ห่อหุ้มด้วยเปลือกแข็งๆ คล้ายๆกะลามะพร้าว เปลือกแข็งๆนี้จะถูกนำมาบีบอัดซ้ำอีกครั้ง จนแตกกระจายออกเป็นชิ้นเล็กๆ และได้เม็ดในปาล์มในที่สุด ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของขบวนการผลิต ทางผู้ผลิตจะนำเม็ดปาล์มไปใช้ และเหลือเปลือกปาล์มจำหน่ายออกมาให้เป็นเชื้อเพลิงสู่ภายนอก โดยจะมีปริมาณร้อยละ 7 ของปริมาณผลปาล์มที่เข้าสู่กระบวนการกลิต
กะลาปาล์ม ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย มีมาจาก 3 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกัน
- กะลาปาล์มภายในประเทศ
- กะลาปาล์ม อินโดนีเซีย
- กะลาปาล์ม มาเลเซีย
- กะลาปาล์ม เมี่ยนม่า ซึ่งมีนำเข้าเพียงเล็กน้อยตามแนวชายแดน
โดยกว่า ร้อยละ 50 มาจากภายในประเทศ และต่างประเทศอีกร้อยละ 50
คุณสมบัติทางความร้อนและกายภาพ
ค่าความร้อน Energy calorific : 3800-4500 Kacl/kg.
ความชื้น Moisture content : 18-35 % (ปกติ กรีนเทอมินัล ควบคุมไว้ที่ 25-27% ซึ่งเป็นความชื่นที่เหมาะในการขนส่งและจัดเก็บ ร่วมถึงการใช้งานได้อย่างมีประสิทธภาพ)
ค่าความถ่วงจำเพาะ Specific gravity : 650-700 กก./ลบ.ม. (ที่ความชื้นประมาณ 25%)
ห้ามเผยแพร่หรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของบทความนี้ ซึ่งถือเป้นลิขสิทธิ์ของ บริษัทฯ